สาธารณรัฐอิตาลี
Republic of Italy

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อประเทศ ตามภาษาพื้นเมือง Repubblica Italiana

ที่ตั้ง อิตาลีอยู่ในตอนใต้ของทวีปยุโรป และตอนเหนือของแอฟริกา โดยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง
ทิศเหนือติดประเทศสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย ทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลไอโอเนียน ทิศตะวันตกติดประเทศฝรั่งเศสและทะเลไทเรเนียน ทิศตะวันออกติดทะเลอาเดรียติก และอยู่ตรงข้ามกับสโลเวเนีย โครเอเชีย บอสเนีย มอนเตเนโกร และแอลเบเนีย (ออร์เดอร์ออฟมอลต้า ซานมารีโน แอลเบเนีย และไซปรัสอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เนื่องจากไทยไม่มีตัวแทนทางการทูตในประเทศดังกล่าว)

อิตาลีมีเนื้อที่ 116,303 ตารางไมล์ หรือ 301,225 ตารางกิโลเมตร นอกจากพื้นที่ที่เป็นคาบสมุทรแล้ว อิตาลียังประกอบด้วยเกาะซาร์ดิเนียและซิซิลีด้วย พื้นที่ร้อยละ 57 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 21 เป็นป่าและภูเขา

ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียน

ประชากร 58.6 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร 193 คน ต่อ 1 ตารางกม. อัตราการเพิ่ม 0.0% มีประชากรในวัยทำงาน (workforce) 24.3 ล้านคน (โดยอยู่ในภาคบริการ 63 % ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ 32 % ภาคเกษตร 5% และว่างงาน 7.9%) เชื้อชาติ ส่วนใหญ่คืออิตาเลียน และมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส สโลเวเนีย และแอลเบเนีย

ผู้หญิงอิตาลีมีลูกน้อยที่สุดในสหภาพยุโรป (1.33 คน โดยเฉลี่ย)

เมืองหลวง โรม (Rome) ประชากร 2.7 ล้านคน

เมืองสำคัญ โรม มิลาน เนเปิลส์ ตูริน เจนัว

ภาษาราชการ อิตาเลียน และมีภาษาเยอรมันเป็นภาษารอง โดยเฉพาะบริเวณแคว้น Trentino-Alto Adige ที่ติดกับออสเตรีย และภาษาฝรั่งเศสในแคว้น Valle d’Aosta นอกจากนี้ สามารถใช้ภาษาสเปนกับชาวอิตาเลียนได้ อนึ่ง ในอิตาลีมีภาษาท้องถิ่น อาทิ TUSCAN dialect

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (98%) แต่ให้เสรีภาพทุกศาสนาอิตาลีรับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการตั้งแต่มีนาคม ค.ศ. 2000

สกุลเงิน ยูโร (Euro)

วันหยุดราชการ วันขึ้นปีใหม่, วัน Epiphany (6 ม.ค.), วัน Easter Sunday and Monday วัน Liberation Day (25 เม.ย), วันแรงงาน (1 พ.ค.), วัน Assumption (15 ส.ค.), วัน All Saints Day (1 พ.ย.),วัน Immaculate Conception (8 ธ.ค.), วัน Christmas (25-26 ธ.ค.)

ประธานาธิบดี Mr. Giorgio Napolitano (นายจอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน่)

นายกรัฐมนตรี Mr. Romano Prodi (นายโรมาโน โพรดี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Massimo D'Alema (นายมาสซิโม่ ดาเลม่า)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร Mr. Fausto Bertinotti

อิตาลีเพิ่งมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 9 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งประชากรอิตาลีในประเทศไทยสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของอิตาลีได้เป็นครั้งแรกในปีนี้โดยทางไปรษณีย์

การเมืองการปกครอง

บริเวณที่เป็นอิตาลีในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล และถูกรวมอยู่ในอาณาจักรโรมันตะวันตกในระหว่างศตวรรษที่ 1-5 จากนั้นกลายเป็นสมรภูมิหลายครั้งในความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสันตปาปาที่กรุงโรมกับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (the Holy Roman Empire) ดินแดนภาคกลางและภาคเหนือของอิตาลีเริ่มรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการค้าในศตวรรษที่ 11 และเสื่อมลงหลังศตวรรษที่ 16 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 อิตาลีเข้าสู่ยุค Renaissance และได้เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวิทยาการตลอดจนวรรณกรรมชิ้นเอกจำนวนมากที่เป็นพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตกยุคต่อมา อาทิ ผลงานของ Machiavelli, Boccaccio, Petrash, Tasso, Raphael, Botticelli, Michaelangelo และ Leonardo da Vinci ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิดขบวนการชาตินิยมที่นำไปสู่การรวมอิตาลีได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ.1870 และจากนั้นมาจนปี ค.ศ. 1922 อิตาลีอยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ที่มีรัฐสภาและการเลือกตั้งแบบจำกัด
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลีเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเกือบสิ้นสุดสงครามในปี ค.ศ. 1915 จึงได้รับดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาอยู่ใต้อิตาลี ในปี ค.ศ. 1922 Benito Mussolini ขึ้นมามีอำนาจกว่า 2 ทศวรรษต่อมา อิตาลีตกอยู่ใต้ระบอบ Fascism ซึ่งเรียกกันว่า “Corporate State” โดยยังมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐเพียงในนาม
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีเข้าข้างฝ่ายอักษะ แต่หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกกษัตริย์ปลดจากตำแหน่ง นายพล Pietro Badaglio ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และอิตาลีหันไปประกาศสงครามกับเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบกษัตริย์ถูกล้มเลิก และอิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 ซึ่งยังใช้มาจนปัจจุบัน

ระบบการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญอิตาลีกำหนดให้อิตาลีมีรูปแบบการปกครอง ฅามระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีฝ่ายตุลาการแยกเป็นอิสระ
ประธานาธิบดี ได้รับเลือกตั้งจาก รัฐสภาและผู้แทนภูมิภาค (Regional Representatives) ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 7 ปี
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นาย Giorgio Napolitano (จอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน่) เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คัดค้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และยุบสภา
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Romano Prodi เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปนโยบายการเงินการคลัง เข้ารับหน้าที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2549

นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐบาล (Council of Ministers) โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บางทีเรียกว่า President of the Council of Ministers จึงอาจเกิดความสับสนได้

ระบบการเลือกตั้งของอิตาลีในปัจจุบัน เป็นการลงคะแนนเสียงผสมระหว่างแบบเสียงข้างมาก (first-past-the post) ร้อยละ 75 และแบบสัดส่วนอีกร้อยละ 25 การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีเมื่อ 13 พฤษภาคม 2001 การเลือกตั้งจะมีขึ้นทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่มีความสามารถในการจัดตั้งคณะรัฐบาลให้ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา และการเลือกตั้งของทั้ง 2 สภาจะมีขึ้นในเวลาเดียวกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

รัฐสภา รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภาได้แก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภาวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้น ทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้งคณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่13พฤษภาคม 2001 สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies/Camera dei Deputati)
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ (regional proportion representation) ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันคือนาย Marcello Pera วุฒิสภา (Senate/Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (popular vote) จากแคว้น (regions) ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 11 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันคือนาย Pier Ferdinando Casini โดยได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001

การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น
หรือภูมิภาค (regions) (และแบ่งเป็น 94 จังหวัด) ได้แก่ Abruzzo, Basilicata, Calabria,Campania, Emilia-Romagna,Fuiuli-Venezia Giulia, Lazio,Liguria, Lombardia, Marche,Molise, Piemonte, Puglia,Sardegna (Sardinia), Sicilia (Sicily)Toscana, Trentino-Alto Adige, Umbria, Valle d’Aosta, Veneto,โดยมี 5 แคว้นคือ Fuiuli-Venezia Giulia,Sardinia, Sicily, Trentino-Alto Adige, และ Valle d’Aosta ได้รับสถานะพิเศษตามรัฐธรรมนูญให้ปกครองตนเอง

ในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
- คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
- คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
- ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้นๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง

กลุ่มพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้
พรรคพันธมิตรกลางขวาประกอบด้วย
- Forza Italia นำโดย นาย Silvio Berlusconi
- National Alliance นำโดย นาย Gianfranco Fini
- Union of the Centrist (UDC) นำโดย นาย Pier Ferdinando Casini
- Lega นำโดย นาย Umberto Bossi

การเมืองภายในของอิตาลี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2001 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอิตาลี ผลปรากฏว่า กลุ่มพรรคฝ่ายขวานำโดยนาย Silvio Berlusconi ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาจำนวน 177 ที่นั่ง และได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 368 ที่นั่ง จากทั้งหมด 630 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (315) ที่นั่ง และสภาผู้แทนราษฎร (630 ที่นั่ง) แล้ง ยังรวมถึงการเลือกตั้งองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและเทศบาลด้วย ซึ่งได้แก่ การเลือกตั้งประธานและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 จังหวัด (จาก 20 จังหวัด) และเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลของเมืองต่างๆ รวม 1,266 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลของเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 15,000 คน (จำนวน 1,139 แห่ง) จะใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่ของบัญชีรายชื่อพรรค (Party List Majority System) คือ ผู้ มีสิทธิลงคะแนนครั้งเดียวและผู้สมัครที่ได้รับเสียงสูงสุดจะได้รับเลือกรวม ทั้งพรรคการเมืองในบัญชีรายชื่อของผู้สมัครดังกล่าวจะได้ที่นั่ง 2/3 ในสภาเทศบาลเมืองนั้นไปโดยอัตโนมัติ ส่วนที่นั่งที่เหลือ 1/3 จะแบ่งตามสัดส่วนของบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงรองๆ ลงไป สำหรับเมืองที่มีประชากรเกิน 15,000 คน (จำนวน 127 เมือง) จะใช้ระบบลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ ในการเลือกตั้งรอบแรกวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 หากไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนสูงสุดเด็ดขาด (absolute majority) จะมีการลงคะแนนรอบที่ 2 (runoff) ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 โดยถือเอาผู้ได้รับเสียงข้างมากปกติเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเมืองสำคัญๆ ในรอบ 2 ส่วนใหญ่ ผู้สมัครจากพรรคฝ่าย Center-Left ได้รับชัยชนะ ได้แก่ กรุงโรม เมืองเนเปิลส์ และเมืองตูริน เป็นต้น สำหรับเมืองมิลาน(เมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากกรุงโรม) ผู้สมัครจากพรรค Center-Right ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนสูงสุดเด็ดขาดจากการลงคะแนนเสียงรอบแรก

บทบาทของอิตาลีในเวทีระหว่างประเทศ
บทบาทของอิตาลีทางด้านการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่อิตาลีเป็นประธานสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 1996 โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง การส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสถานการณ์ในยูโกสลาเวียและแอลเบเนีย การคัดค้านการเสนอขอให้เยอรมนีและญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ การผลักดันให้อิตาลีเข้าสู่สหภาพเศรษฐกิจการเงิน (Economic and Monetary Union - EMU) กลุ่มแรกในปี ค.ศ.1999 นอกจากนี้ อิตาลีได้สนใจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดย ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้น
ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ อิตาลีไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกถาวรอีก 2 ประเทศ (ญี่ปุ่นและเยอรมนี) เพราะจะทำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอภิสิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก คณะมนตรีความมั่นคงฯ จึงควรปฏิรูปโดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกไม่ถาวรฯ และให้ประเทศเล็กได้เข้าเป็นสมาชิก โดยให้เพิ่มจำนวน 8-10 ที่นั่ง และใช้ระบบหมุนเวียนตามสัดส่วนของภูมิภาค (ถ้าเพิ่ม 10 ที่นั่ง 5 ที่นั่งควรเป็นของทวีปแอฟริกาและเอเชีย 2 ที่นั่งเป็นของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา 2 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันตกและ 1 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันออก) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ สมัชชาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสมาชิกไม่ถาวร โดยผู้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสมัชชาฯ และห้ามเลือกตั้งซ้ำและลงสมัครติดต่อกัน
- อิตาลีมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะ Kosovo และคาบสมุทรบอลข่าน โดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาว Kosovo ในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งสร้างที่พักและสถานพยาบาล ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัย หรือ Operation Rainbow ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากชาวอิตาเลียน นอกจากนี้ยังบริจาคให้การปฏิบัติงานของ UNHCR ให้ความช่วยเหลือสำหรับการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านองค์กรกองทุนระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาการเกษตร (IFAD) และ UNOPS และให้กับโครงการอาหารโลก (WFP) สำหรับผู้ได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ในคาบสมุทรบอลข่าน นอกจากนั้น รัฐบาล อิตาลียังหาทางให้นักธุรกิจอิตาลีมีช่องทางเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผน งานและกระบวนการประมูลในโครงการฟื้นฟูบูรณะคาบสมุทรบอลข่านตั้งแต่ต้น รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการสร้างตลาดการค้าที่ทันสมัยในคาบสมุทรบอลข่าน และรัฐบาลยังเพิ่มบทบาทในการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเร่งกระชับความสัมพันธ์
ทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้

รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี Mr. Romano Prodi (นายโรมาโน โพรดี)รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรมว.กต. Mr. Massimo D'Alema (นายมาสซิโม่ ดาลีม่า) รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 และรมว.วัฒนธรรม Mr. Francesco Rutelli (นายฟรานเชสโก้ รูเตลลี่)
Undersecretaries to the Prime Minister's Office (ระดับปลัด): Mr. Enrico Letta, Mr. Enrico Micheli, Mr. Fabio Gobbo, Mr. Ricardo Franco Levi.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Massimo D'Alema
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย Mr. Giullano Amato
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Mr. Arturo Parisi
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Mr. Tommaso Padoa-Schioppa
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม Mr. Clemente Mastella

เศรษฐกิจการค้า

โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วไป
อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญมาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อุตสาหกรรมที่สำคัญมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่ม G8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลด บทบาทของพรรคการเมืองโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (Lombardy, Emilia, Tuscany) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่รวมกันเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20

ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง บทบัญญัติที่สำคัญๆ เกี่ยวกับ SMEs ในกฎหมายที่ 114 ว่าด้วยการปฏิรูปวินัยในภาคธุรกิจการค้า (Reform of the Disciplines on Commercial Sector) มีดังนี้
1. มาตรา (6) ข้อ (2) บัญญัติว่า รัฐบาลแคว้น (regional authority) จะพิจารณากำหนดเขตพื้นที่การพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจการค้าต่างๆ อย่างสมดุล
2. มาตรา (6) บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐบาลแคว้นเป้นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสถานประกอบการขนาดใหญ่ รัฐบาลแคว้นจะจัดทำมาตรฐานผังเมือง (urban planning) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่
3. มาตรา (7) บัญญัติว่า ในการขอจัดตั้งกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย เพียงส่งแบบฟอร์มแจ้งต่อเทศบาล (city council) เท่านั้น มาตรา (8) และ (9) บัญญัติว่า การเปิดกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลและแคว้น
4. มาตรา (8) เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเปิดสถานประกอบการขนาดกลาง ซึ่งระบุว่า เทศบาลและรัฐบาลแคว้นจะรับฟังข้อคิดเห็นจากสมาคมการค้า และองค์กรพิทักษ์ผู้บริโภคในการอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
- กฎหมายที่ 114 ให้ประโยชน์แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (พื้นที่ 150-200 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดำเนินธุรกิจของครอบครัว อาทิ การเปิดกิจการร้านค้าปลีกใหม่ทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องขออนุญาต (แต่เดิมต้องขอใบอนุญาตจากเทศบาล) เพียงแต่จัดส่งแบบฟอร์มแจ้งเทศบาล
- ร้านค้าปลีกขนาดกลาง (พื้นที่ 250-2,500 ตารางเมตร) เช่น supermarket, convenient store, outlet เป็นต้น และร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ (พื้นที่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องได้รับการอนุญาตจัดตั้งโดยคำนึงถึงการแบ่งเขตพื้นที่ (zoning) และการตรวจสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) ต่างๆ เช่น จำนวนประชากร การกระจายการจัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสภาพจราจร การจ้างงาน และการสร้างงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลแคว้นจะพิจารณาร่วมกับเทศบาลเมือง และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชะลอความเติบโตในภาคการค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ของอิตาลีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- ปัจจุบัน รัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กปิดกิจการหรือรวมตัวกัน เช่น ให้เงินชดเชยแก่เจ้าของร้านที่เลิกกิจการก่อนเกษียณอายุ สนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันปิดกิจการและและรวมตัวเพื่อเปิดกิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางในเขตอื่น สนับสนุนร้านค้าปลีกรายย่อยให้จำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภทเพื่อลดการแข่งขันระหว่างการค้าปลีกอื่นๆ ในย่านเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาล(โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 1 แสนล้านลีร์

ข้อกำหนดสำหรับกิจการของต่างชาติ
- ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ของอิตาลีมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ในสภาพตลาดที่พัฒนาแล้วและไม่มีข้อกีดกันต่อผู้ประกอบการต่างชาติในกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ที่แตกต่างจากมาตรการที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบการอิตาลี
- ปัจจุบัน มีร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดใหญ่ของต่างชาติเปิดกิจการในอิตาลี อาทิ Carrefour (ฝรั่งเศส) Auchan (ฝรั่งเศส) Metro (เยอรมัน) Lidl (เยอรมัน) Rewe (เยอรมัน) Tenglemann (เยอรมัน) IKE (สวีเดน)
สถิติเศรษฐกิจที่สำคัญ
- อิตาลีเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 23 ของไทย และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 จากกลุ่ม EU โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด ล่าสุด (ม.ค.-ต.ค.48) ปริมาณการค้าไทย-อิตาลี มีมูลค่า 1930 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปี 2547 โดยไทยส่งออก 1004.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.27 ไทยนำเข้าจากอิตาลี 925.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5

นักท่องเที่ยวอิตาลีอยู่ในกลุ่มตลาดหลักของไทย โดยอยู่ในลำดับที่ 16 มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.3 และมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 6.7 โดยในปี 2547 นักท่องเที่ยวอิตาลีเดินทางไปเที่ยวประเทศไทยเฉลี่ยครั้งละสองสัปดาห์ โดยใช้จ่ายวันละประมาณ 96 เหรียญสหรัฐ ก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศปีละ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิตาลี

web-booking-01 mod

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มอีก 1 ช่องทาง คือ Twitter ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสถานทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศ ขอเชิญ follow ได้ที่ Twitter Thailand in Italy หรือตามลิงค์นี้ https://twitter.com/RTERome

Follow us on Twitter Thailand in Italy the official account of the Royal Thai Embassy in Rome at https://twitter.com/RTERome.

thai select


negozi thai food