บริการด้านกงสุลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม

แผนกกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เปิดทำการในวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) นัดหมายออนไลน์เพื่อทำหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร ขอหนังสือรับรองสถานภาพเพื่อการสมรส และหนังสือรับรองอื่น ๆ ได้ทาง
ambthairome.setmore.com

1. การทำหนังสือเดินทาง

เอกสารที่ใช้แสดงตนของคนไทยที่อยู่ต่างประเทศคือหนังสือเดินทาง ซึ่งนอกจากจะใช้แสดงตนต่อทางการต่างประเทศแล้ว ยังสามารถใช้แทนบัตรประชาชนในกรณีติดต่อกับสถานราชการไทยในต่างประเทศด้วย หนังสือเดินทางควรมีอายุใช้งานได้อย่างน้อยเกินกว่า 6 เดือน เนื่องจากประเทศต่างๆ จะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนเดินทางเข้าประเทศตน ดังนั้น ควรทำหนังสือเดินทางใหม่ก่อนที่เล่มเก่าจะหมดอายุอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการไม่มีเอกสารแสดงตน และการถูกปฏิเสธมิให้เข้าเมืองในต่างประเทศ

สําหรับเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โปรดศึกษาตามลิ้งค์
http://www.thaiembassy.it/index.php/th/ฝ่ายกงสุล/หนังสือเดินทาง

2.  การทำนิติกรณ์ต่างๆ

นิติกรณ์ที่สามารถขอดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ  ได้แก่

  • งานทะเบียน
  • 1. การแจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยให้บุตร

    เด็กที่เกิดในอิตาลี แอลเบเนีย ซานมาริโน และไซปรัส มีสิทธิได้รับสัญชาติไทยตามบิดามารดา โดยสามารถแจ้งเกิด และรับสูติบัตรไทยได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม โดยใช้เอกสารตามลิ้งค์

    http://www.thaiembassy.it/index.php/th/ฝ่ายกงสุล/ทะเบียนราษฎร-นิติกรณ์

    2. การขอมรณบัตร

    สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม สามารถออกมรณบัตรให้กับผู้ตายที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือคนต่างด้าวที่ได้ รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยบิดามารดา คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของผู้เสียชีวิต หรือผู้ได้รับมอบอํานาจจากบุคคลดังกล่าว ติดต่อขอมรณบัตรไทย ที่สถาน เอกอัครราชทูตฯ เพื่อนําไปแจ้งทางการไทยในการบันทึกข้อมูลทะเบียนราษฎรต่อไป

    การขอมรณบัตรต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้ พร้อมสําเนา 2 ชุด

    1) ใบรับรองการเสียชีวิตออกให้โดยโรงพยาบาล ระบุชื่อผู้เสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิต วนั และเวลาที่เสียชีวิต และ หากผู้เสียชีวิต ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลก่อนเสียชีวิต ต้องระบุด้วยว่าได้เข้ารับการรักษาเป็น เวลานานเท่าใด

    2) ใบมรณบัตรท้องถิ่น และใบอนุญาตในการจัดการศพ ออกให้โดยอําเภอ

    3) เอกสารหรือหลักฐานของผู้เสียชีวิต เช่น หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของ ผู้เสียชีวิต

    4) เอกสารหรือหลักฐานของผู้แจ้งขอมรณบัตร เช่น หนังสือเดินทางหรือบัตรประจําตัวประชาชน และใบมอบ อํานาจในกรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่บิดามารดา คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของผู้เสียชีวิต

    5) คําร้องขอจดทะเบียนคนตาย (ดาวน์โหลด)

    3. การขอหนังสือรับรองเพื่อผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร

    สถานเอกอัครราชทูตฯ มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองว่าบุคคลนั้น ๆ กําลังศกึ ษาอยู่ในสถาบันใดในอิตาลี หลักสูตรกี่ปี เพื่อนําหนังสือดังกล่าวส่งให้บิดา มารดา หรือญาติในประเทศไทยไปยื่นขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร

    เอกสารที่ต้องใช้ในการออกหนังสือรับรองดังกล่าว ดังนี้

    - หนังสือรับรองจากสถานศึกษาว่ากําลังศึกษาอยู่ โดยจะต้องระบุชื่อสถานศึกษา สาขาวิชา หลักสูตร วันที่เริ่มต้น หลักสูตร ระยะเวลาทั้งหมด ของหลักสูตร ผ่านการแปลเป็นภาษาไทยให้เรียบร้อย

    - สําเนาหนังสือเดินทางไทย

    - สําเนาบัตรประชาชนไทย

    - สําเนาทะเบียนบ้านไทย

    - หนังสือ สด. 9

    - หนังสือ สด. 35

    - สูติบัตรไทย

    - เอกสารการมีถิ่นพํานักในอิตาลี

    4. การรับรองเอกสาร

    สถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ทางการอิตาลีตามที่ได้ส่งตัวอย่างลาย มือชื่อให้แก่สถานเอกอัครราชทูตฯ เอกสารทุกอย่างจึงต้องผ่านการรับรองจาก Prefettura หรือทางการอิตาลีก่อน สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงสามารถรับรองได้ การรับรองคำแปลเอกสาร ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รับรองคำแปลถูกต้อง สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประทับตรา Seen at Royal Thai Embassy เท่านั้น

    การยื่นขอรับรองเอกสารให้ยื่นต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุด และบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่น ค่าธรรมเนียมฉบับละ 15 ยูโร

    5. การจัดทำหนังสือมอบอำนาจทั่วไป

    สถานเอกอัครราชทูตฯ ให้บริการรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ เช่น หนังสือมอบอำนาจทั่วไป หนังสือมอบอำนาจที่ดิน หนังสือให้ความยินยอมและมอบอำนาจให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง หนังสือมอบอำนาจและยินยอมคู่สมรสในการทำนิติกรรม เป็นต้น

    นอกจากนี้ โดยที่ทะเบียนราษฎร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น การแก้ไขข้อมูลบุคคลใด ๆ จึงต้องกระทำที่อำเภอ หรือเขต โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้บริการแก่คนไทยในต่างประเทศ จึงไม่มีสิทธิแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลใด ๆ ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร การแก้ไขข้อมูลดังกล่าวสามารถดำเนินการโดยเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

    ผู้ที่อยู่ในอิตาลีและประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลหรือขอ เอกสารใด ๆ จากอำเภอหรือเขต สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ญาติในประเทศไทยดำเนินการแทนได้ในเรื่องต่อไปนี้

    1.การขอหนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองความเป็นโสด)

    2. การขอจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

    3. การขอเปลี่ยนชื่อตัว

    4. การขอตั้งชื่อรอง

    5. การขอตั้งชื่อสกุลใหม่

    6. การขอคัดสำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล

    7. การขอคัดสำเนาใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการหย่า ทะเบียนหย่า

    8. การขอแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร ได้แก่ สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนบ้าน

    การขอหนังสือมอบอำนาจ จะต้องเดินทางไปยื่นคำขอด้วยตนเอง เนื่องจากต้องลงนามเป็นผู้มอบอำนาจต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และต้องนำเอกสารประจำตัวพร้อมสำเนา 2 ชุดไปด้วย ดังนี้

    - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ

    - หนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

    - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ

    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

    - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

    - ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

    6. การขอพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติเพื่อขอหนังสือรับรองความประพฤติ

    ผู้ที่ต้องการหนังสือรับรองความประพฤติ แต่ไม่สามารถเดินทางไปขอ ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ สามารถยื่นคำร้องขอผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ โดยใช้เอกสารพร้อมสำเนา 2 ชุด ดังนี้

    1. รูปถ่ายหน้าตรง 4 รูป

    2. หนังสือเดินทางของผู้ร้อง

    3. บัตรประจำตัวประชาชน

    4. ทะเบียนบ้าน

    5. สูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิด

    6. ใบสำคัญการสมรส

    7. ใบสำคัญการมีถิ่นที่อยู่ในอิตาลี (Permesso di Soggiorno)

    8. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล กรณีมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล

    ผู้ร้องต้องไปยื่นคำร้องพร้อมเอกสารและนัดเวลาพิมพ์ลายนิ้วมือ  เมื่อได้รับหนังสือรับรองความประพฤติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ผู้ร้องต้องมอบอำนาจให้ญาติในประเทศไทยนำใบรับรองดังกล่าวไปแปลเป็นภาษา อิตาลีและผ่านการรับรองโดยสถานทูตอิตาลีในประเทศไทยก่อนจึงจะสามารถนำมายื่น กับทางการอิตาลีได้

    7. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

    ผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปีบริบูรณ์ สามารถขอรับบุตรบุญธรรมได้ โดยผู้ขอรับจะต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมไม่น้อยกว่า 15 ปี หากผู้ขอรับมีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย

    ขั้นตอนการขอรับบุตรบุญธรรมจากประเทศไทย

    1.ยื่นความจำนงขอรับบุตรบุญธรรมผ่านหน่วยงานศูนย์รับบุตรบุญธรรมท้องถิ่นของ อิตาลี เพื่อยื่นเรื่องต่อไปยังอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการของไทย เพื่อให้เป็นการรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การขอ วีซ่าแก่เด็กเข้าประเทศอิตาลีเป็นไปโดยสะดวกและสอดคล้องกับระเบียบภายในของ อิตาลี

    2.ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมฯ จะอนุญาตให้นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดูในอิตาลีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์รับบุตรบุญธรรมของอิตาลีเป็นผู้ตรวจเยี่ยมและประเมิน

    3.เมื่อผ่านการประเมิน กรมพัฒนาสังคมฯ จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เรียกผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ไปจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งนี้ จะต้องคอยผลการพิจารณาของศาลอิตาลีในการอนุญาตให้ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมรับ เด็กผู้นั้นเป็นบุตรบุญธรรมได้ก่อน การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงจะมีผลตามกฎหมายอิตาลีด้วย

    เอกสารที่ต้องยื่นในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

    - บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม

    - หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

    - หนังสือให้ความยินยอมจากคู่สมรส

    8. การสละสัญชาติ

    กฎหมายอิตาลีไม่ได้กำหนดให้ชาวต่างชาติที่ขอถือสัญชาติอิตาลีต้องสละ

    สัญชาติเดิมดังนั้นคนไทยที่ได้สัญชาติอิตาลีจึงไม่จำเป็นต้องสละสัญชาติไทย

    สำหรับผู้ที่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดที่ประสงค์จะสละสัญชาติไทยสามารถดำเนินการได้เมื่ออายุครบ 20 ปี     โดยยื่นคำร้องตามแบบส.ช. 2 พร้อมหลักฐานประกอบและชำระค่าธรรมเนียมเอกสารภาษาอิตาลีต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองทุกฉบับดังนี้ 

    1. แบบส.ช. 2 และประวัติผู้ร้องขอสละสัญชาติไทย(ดาวน์โหลด) 2 ชุด

    2. รูปถ่ายผู้ร้องขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 12 รูป (แต่งกายสุภาพ) 

    3. รูปถ่ายบิดามารดาของผู้ร้องขนาด 4 x 6 ซม. คนละ 6 รูป (แต่งกายสุภาพ) พร้อมเอกสารทะเบียนบ้าน     บัตรประจำตัวประชาชนหนังสือเดินทางบิดามารดาพร้อมสำเนา 2 ชุด

    4. ใบสำคัญการถือสัญชาติอิตาลี 

    5. หนังสือเดินทางไทยและอิตาลีพร้อมสำเนา 2 ชุด

    6. สำเนาสูติบัตร 2 ชุด

    7. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา 2 ชุด

    8. สำเนาทะเบียนบ้านไทยและอิตาลีของผู้ร้องพร้อมสำเนา 2 ชุด

    9. สำเนาใบสำคัญทหาร (แบบสด. 9 / แบบสด. 1 หรือสด. 8) 

    10. ทะเบียนสมรส (หากมี) พร้อมสำเนา 2 ชุด

    11. สำเนาหนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (หากมี) พร้อมสำเนา 2 ชุด

    12. พยานบุคคล (คนไทย) 1 คนหนังสือเดินทางบัตรประจำตัวประชาชนทะเบียนบ้านของพยานพร้อมสำเนา   2 ชุด

    ส่วนราชการไทยที่เกี่ยวข้องจะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติการสละสัญชาติประมาณ 3 – 5 ปีขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเอกสารการสละสัญชาติไทยจะมีผลสมบูรณ์เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยอนุมัติและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาและสถานเอกอัครราชทูตจะแจ้งให้ผู้ร้องทราบเพื่อขอคืนหนังสือเดินทางและบัตรประชาชนไทยต่อไป 

    หมายเหตุ

    1. สถานเอกอัครราชทูตฯอาจขอเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมแล้วแต่ความจำเป็น

    2. ผู้ร้องต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและมาดำเนินการด้วยตนเองพร้อมบิดามารดาสามีและพยาน 

    3. สำหรับผู้ที่ต้องการไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่ประเทศไทย

    - ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอต่อฝ่ายกฎหมายและวินัยกองบังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสันติบาลหมายเลข +66 22525961 และ +66 22052970

    - ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้

    4. เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการยื่นคำร้องขอให้แจ้งความประสงค์การขอสละสัญชาติมาทางอีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ก่อนหลังจากนั้นสถานเอกอัครราชทูตฯจะติดต่อกลับเพื่อให้ให้คำแนะนำเรื่องเอกสารและการยื่นคำร้องต่อไป

     

  • การจดทะเบียนสมรส
  • 9. การขอเอกสารเพื่อการสมรส (Nulla Osta)

    กรณีชายหรือหญิงไทยที่อยู่ในอิตาลีและประสงค์จะแต่งงานกับชายหรือหญิงอิตาลี ชายหรือหญิงไทยจะต้องขอ หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส (*Nulla Osta) จากสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนําไปยื่นต่ออําเภอที่คู่สมรส จะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิตาลี โดยใช้เอกสารตามลิ้งค์

    http://www.thaiembassy.it/index.php/th/ฝ่ายกงสุล/ทะเบียนราษฎร-นิติกรณ์

    10. การจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า

    การจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะกระทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทย หรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ โดยถือว่าเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไทย   

    เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนสมรสมี ดังนี้

    1.กรอกรายละเอียดในคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    2.หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    3.บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    4.ในกรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนและหย่าแล้ว ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย

    5. ใบรับรองโสด ของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย (ตัวจริง) อายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก (สามารถติดต่อขอรับใบรับรองความเป็นโสดได้ที่ที่ว่าการอำเภอฯ หรือ สำนักงานเขตฯ ที่ประเทศไทย) เพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

    6. ในวันจดทะเบียนสมรสต้องนำพยานไปด้วย 2 คน พยานต้องนำหนังสือเดินทางและบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงด้วย

    เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนหย่ามี ดังนี้

    1.กรอกรายละเอียดในคำร้องขอจดทะเบียนหย่า และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    2.ทะเบียนสมรสต้นฉบับของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    3.หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    4.บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

    ในวันจดทะเบียนหย่าต้องนำพยานไปด้วย 2 คน ( คนไทยหรือต่างชาติก็ได้ ) โดยพยานต้องนำหนังสือเดินทางและบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงด้วย

web-booking-01 mod

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มอีก 1 ช่องทาง คือ Twitter ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสถานทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศ ขอเชิญ follow ได้ที่ Twitter Thailand in Italy หรือตามลิงค์นี้ https://twitter.com/RTERome

Follow us on Twitter Thailand in Italy the official account of the Royal Thai Embassy in Rome at https://twitter.com/RTERome.

thai select


negozi thai food