สาธารณรัฐไซปรัส

Republic of Cyprus

ข้อมูลทั่วไป

cyprusmapที่ตั้ง
อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ ๒๔๐ ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย ๖๔ ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี ๔๔ ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ ๒๔๐ ไมล์
พื้นที่
๙,๒๕๑ ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี ๓,๓๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๖ ของพื้นที่ทั้งหมด
เมืองหลวง
นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี ๒๕๑๗
ประชากร
๑,๑๓๘,๐๗๑ คน (ข้อมูลปี ๒๕๕๕)
ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม
ภาษาราชการ กรีกและตุรกี
ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ ๗ มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ ๑๘ นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย

วันชาติ ๑ ตุลาคม
หน่วยเงินตรา ใช้สกุลยูโรมาตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน ๑ ยูโรเท่ากับประมาณ ๓๘ บาท (ณ มีนาคม ๒๕๕๖)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ๒๒,๑๘๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี ๒๕๕๕)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ๒๘,๕๙๖ ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี ๒๕๕๕)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ -๒.๔ (ประมาณการปี ๒๕๕๕)
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายนิโคซ์ อะนาสตาซิอาเดส (Nicos Anastasiades) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖


ภูมิหลัง
๒๕๐๓ ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
๒๕๑๗ เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจาก
ประเทศตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ ๓๖.๒% ของเกาะไซปรัส
๒๕๒๖ ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรอง
จากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว
๒๕๔๕ สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ

นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

๑. การเมืองการปกครอง

๑.๑ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือ
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกทั้งหมด ๕๙ คน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่ายไซปรัสกรีกจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ๕๖ คน และตัวแทนจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายมาโรไนต์ ๑ คน นิกายโรมันคาทอลิก ๑ คน และตัวแทนชนชาติอาร์เมเนียน ๑ คน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายนิโคซ์ อะนาสตาซิอาเดส (Nicos Anastasiades) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ประธานาธิบดีไซปรัสมีวาระ ๕ ปี มีสถานะเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีร่วมกับ รองประธานาธิบดี ซึ่งรองประธานาธิบดีจะต้องมาจากฝ่ายไซปรัสตุรกีตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะนี้ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม ระหว่างพรรค Democratic Rally (DISY) พรรค Democratic Party (DIKO) และพรรค European Party (EVROKO)

ปัญหาการรวมประเทศไซปรัส

๑.๓ สาธารณรัฐไซปรัส ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ๒๕๐๓ แต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวไซปรัสกรีกกับชาวไซปรัสตุรกี สหประชาชาติได้ส่งกำลังทหารรักษาสันติภาพไปยังไซปรัสในปี ๒๕๐๗ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๑๗ หลังจากฝ่ายกรีกได้ทำรัฐประหารรัฐบาลไซปรัส ตุรกีได้ถือโอกาสดังกล่าว เข้ายึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัส ทำให้ชาวไซปรัสกรีกเป็นจำนวนมากอพยพออกจากดินแดนส่วนนี้ และมีการตั้งระบอบการปกครองตนเองในดินแดนที่ตุรกียึดครอง โดยเรียกตนเองว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus หรือ TRNC) โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสตุรกี และระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงตุรกีให้การรับรองเพียงประเทศเดียว
๑.๔ ขณะนี้เกาะไซปรัสถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑) สาธารณรัฐไซปรัส ๒) TRNC ๓) Green Line เส้นแบ่งแยกดินแดนที่สหประชาชาติดูแลอยู่ และ ๔) เมืองอันเป็นที่ตั้งฐานทัพ ๒ แห่งของสหราชอาณาจักรซึ่งยังคงรักษาอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว ตามเงื่อนไขของการให้เอกราชแก่ไซปรัสในปี ๒๕๐๓ ได้แก่ เมืองอาร์โกรตีรี (Akrotiri) และเมืองดีเกร์เลีย (Dhekelia) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกของเกาะไซปรัสตามลำดับ
๑.๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สาธารณรัฐไซปรัสเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้รวมดินแดนตอนเหนือที่ตุรกียึดครองอยู่ในขณะนี้
๑.๖ สหประชาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาเกาะไซปรัสโดยยึดหลักพื้นฐานของแผนสันติภาพเพื่อ การรวมไซปรัสที่เรียกว่า “แผนอันนัน” (Annan Plan) คือ การมีไซปรัสที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (United Cyprus) บริหารโดยรัฐบาลเดียว (Federal Government) และแบ่งเป็น ๒ รัฐ คือ Greek Cyprus State และ Turkish Cyprus State โดยทั้งสองรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน และมีอำนาจบริหารภายใต้อาณาเขตของตนเอง
๑.๗ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ได้มีการลงประชามติของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและ ชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีเกี่ยวกับการยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ ในขณะที่ชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๗๕.๘ อันเป็นผลให้แผนสันติภาพดังกล่าวล้มเหลว และเกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกเป็น ๒ ส่วนเช่นเดิม อย่างไรก็ดี สาเหตุที่ฝ่ายไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ถึงร้อยละ ๗๕.๘ นั้น เนื่องจากเห็นว่าแผนสันติภาพฯ ไม่มีความเป็นกลาง โดยเข้าข้างฝ่ายตุรกีมากเกินไป รวมถึงการให้ ความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอต่อชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกทางตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นการลดทอนความสำคัญในการให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ปัจเจกบุคคลพึงได้รับ อนึ่ง เป็นที่เชื่อว่า สาเหตุที่แผนสันติภาพฯ ดังกล่าวให้สิทธิประโยชน์เข้าข้างฝ่ายตุรกีมากกว่า มีสาเหตุจากการที่นายดาเนียล ฟริด (Daniel Fried) ผู้แทนสหรัฐฯ ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษในรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเวลาเดียวกัน) ได้เจรจากับฝ่ายตุรกีเพื่อขอนำกำลังทหารสหรัฐฯ ผ่านดินแดนตุรกีเข้าไปทางตอนเหนือของอิรัก โดยมีข้อเสนออันเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเจรจา ได้แก่ การเสนอบริจาคและให้กู้เงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการให้สิทธิตุรกีในไซปรัสภายใต้แผนสันติภาพฯ ดังกล่าว
๑.๘ นอกจากนี้ กรีซยังได้เสนอแผนการรวมเกาะไซปรัสโดยใช้เงื่อนไขของสหภาพยุโรป ได้แก่ การยินยอมให้ฝ่ายไซปรัสกรีกสามารถใช้ท่าเรือและท่าอากาศยานของฝ่ายไซปรัสตุรกี การให้ผู้ลี้ภัย ชาวไซปรัสกรีกกลับไปมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ การที่ตุรกีจะต้องรับรองสาธารณรัฐไซปรัส และการถอนทหารตุรกี
๑.๙. ท่าทีของรัฐบาลไซปรัสต่อปัญหาข้อพิพาทไซปรัสในขณะนี้ รัฐบาลสนับสนุนให้รื้อฟื้นการหารือกับ TRNC เกี่ยวกับการรวมประเทศ โดยดึงสหภาพยุโรปและตุรกีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย

๒. เศรษฐกิจ

๒.๑ ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีโดยมีภาคบริการเป็นหลักและอุตสาหกรรมเบารองลงมา ชาวไซปรัสเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรไซปรัสมีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีความเป็นอยู่ที่ดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก และมีระบบสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย
๒.๒ ระบบเศรษฐกิจของไซปรัสถูกกำหนดโดยการแบ่งแยกดินแดนเหนือและใต้ โดยเศรษฐกิจในส่วนของสาธารณรัฐไซปรัสมีความเจริญรุ่งเรืองและหลากหลาย รวมทั้งมีนักธุรกิจต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าไปจัดตั้งบริษัทนอกประเทศ (offshore) เพื่อประโยชน์ในด้านภาษีและอากร นอกจากนี้ ไซปรัสยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีนักท่องเที่ยวประมาณ ๒.๔ ล้านคนต่อปี
๒.๓ เศรษฐกิจของไซปรัสเหนือที่ถูกตุรกียึดครองจะมีเศรษฐกิจที่เน้นด้านบริการเป็นหลัก อาทิ การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยมีภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบาเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินแดน ส่วนนี้มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการรับรองและไม่มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลก ยกเว้นตุรกีเพียงประเทศเดียว โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไซปรัสตุรกีในการดำเนินโครงการต่างๆ
๒.๔ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐไซปรัสมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมากในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรป และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคในที่สุด โดยไซปรัสมีเรือจดทะเบียนมากเป็นลำดับ ๔ ของโลก ประมาณ ๒,๘๐๐ ลำ คิดเป็นจำนวนประมาณ ๒๕.๕ ล้าน Gross Registered Tons (GRTs) และได้มีการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณทางทะเลตอนใต้ของเกาะไซปรัส
๒.๕ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันไซปรัสกำลังประสบวิกฤตทางการเงิน สืบเนื่องจากภาคธนาคาร ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าขนาดเศรษฐกิจของไซปรัสประมาณร้อยละ ๘ กล่าวคือ ๑) นโยบายของรัฐบาลไซปรัสที่ผ่านมาให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ชาวต่างชาติแบบเสรีและรัฐบาลเก็บภาษีธุรกิจเพียง ๑๐% เท่านั้น ทำให้ธนาคารในไซปรัสเป็นแหล่งรับเงินฝากเงินจำนวนมาก (รวมทั้งฟอกเงิน) จากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจากรัสเซีย กรีซ เนื่องจากเป็นแหล่งฝากเงินภาษีต่ำ ๒) ภาคธนาคารในไซปรัสมีขนาดใหญ่มากประมาณ ๘ เท่าของขนาดเศรษฐกิจ เงินที่รับฝากจากชาวต่างชาติจำนวนมากนั้น ธนาคารไซปรัสนำไปให้ผู้อื่นกู้ ผู้กู้รายใหญ่ ๆ ได้แก่ ธนาคารและธุรกิจในประเทศกรีซ เมื่อกรีซประสบวิกฤติเศรษฐกิจจนเกือบล้มละลาย ธนาคารไซปรัสได้รับผลกระทบสูงด้วย ส่งผลให้ไซปรัสต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป
๒.๖ ปัจจุบัน กลุ่ม Troika ซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป และสหภาพยุโรป ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือมูลค่า ๑๐ พันล้านยูโร ภายใต้เงื่อนไขที่ไซปรัสต้องระดมเงินจากภายในประเทศไซปรัสเพิ่มเติมอีก มูลค่า ๕.๘ พันล้านยูโร โดยการเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่ามากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ยูโร ของธนาคารหลัก ๒ แห่งของไซปรัสคือ ธนาคาร Popular Bank of Cyprus (Laiki) และธนาคาร Bank of Cyprus (BoC)
๒.๗ แม้ว่าไซปรัสจะได้รับเงินช่วยเหลือและรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย แต่การปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อเพื่อขอเงินช่วยเหลือดังกล่าวนั้นจะมีผลร้ายแรงยิ่ง โดยกิจการธนาคารจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ไม่มีเงินทุนจากภายนอกไหลเข้าไปอีก เงินทุนส่วนใหญ่จะหายไปจนไม่มีธุรกิจใดสามารถยืมเงินได้ตามต้องการ และรัฐบาลจะต้องตัดทอนงบประมาณลงอย่างมาก รวมทั้งประชาชนจะเข้าถึงเงินของตนได้เป็นบางส่วนเท่านั้น จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยบริษัทเอกชนอาจไม่สามารถจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติ ธนาคาร สหภาพแรงงานธนาคารขู่ชุมนุมหยุดงาน และอาจปิดบริการนานเกินกว่ากำหนด และนั่นก็จะส่งผลทำให้การทำธุรกิจและการลงทุนชะงักงัน

๓. นโยบายต่างประเทศ

นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญของไซปรัส ได้แก่ สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Partnership for Peace ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างองค์การ NATO กับประเทศนอกกลุ่ม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ NATO ปรับความสัมพันธ์ ให้ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้น จากเดิมรัฐบาลสมัยที่แล้วมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในด้านการเงิน รวมทั้งประสงค์จะกระชับความสัมพันธ์กับจีนในด้านพลังงาน การลงทุน และการท่องเที่ยว

 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป

๑.๑ การทูต
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสมีความสัมพันธ์ระหว่างกันค่อนข้างน้อย ท่าทีของไทยต่อปัญหาไซปรัส คือ ไทยไม่ให้การรับรอง TRNC โดยตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC ทั้งนี้ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส ซึ่งไม่รับรองดินแดนส่วนเหนือที่ตุรกีส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ และไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มและประเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ในปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส โดยมีนายสุรพิทย์ กีรติบุตร เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส มีถิ่นพำนักที่ประเทศอิตาลี สำหรับฝ่ายไซปรัสนั้น นางมาเรีย มิคาอิล (Maria Michael) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐไซปรัสประจำประเทศไทย มีถิ่นพำนัก ที่ประเทศอินเดีย คนใหม่
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีคนไทยอยู่ในไซปรัสประมาณ ๒๐๐ คน โดยในจำนวนนี้ มีอาศัยอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ ๑๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส ส่วนด้านวัฒนธรรมนั้น ขณะนี้ไทยและไซปรัสยังไม่มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน ๑.๒ เศรษฐกิจ
๑.๒.๑ การค้า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการที่ไซปรัสค้าขายกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และไซปรัสเป็นตลาดที่เล็ก มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไซปรัสในปี ๒๕๕๕ มีมูลค่าเท่ากับ ๓๖.๓๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก ๓๓.๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า ๓.๑๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปลาหมึกสดแช่เย็น สินค้านำเข้าที่สำคัญจากไซปรัส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกล ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
๑.๒.๒ การลงทุน
การลงทุนของไซปรัสในไทยมีเพียงโครงการเดียวในด้านพาณิชย์นาวี มูลค่า ๒๒๘ ล้านบาท
๑.๒.๓ การท่องเที่ยว
ในปี ๒๕๕๔ มีนักท่องเที่ยวไซปรัสมาไทยจำนวน ๓,๐๖๙ คน

๒. ความตกลงที่สำคัญกับไทย

ความตกลงที่ลงนามแล้ว ๒ ฉบับ
๒.๑ ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗)
๒.๒ อนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓)
ความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจา ๕ ฉบับ
๒.๓ ความตกลงว่าด้วยการพาณิชย์นาวี
๒.๔ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
๒.๕ ข้อตกลงว่าด้วยการหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
๒.๖ ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน
๒.๗ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม

๓. การเยือนที่สำคัญ

๓.๑ ฝ่ายไทย
- วันที่ ๒๕ – ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม เยือนไซปรัสเพื่อยื่นพระราชสาส์นต่อประธานาธิบดี Tassos Papadopoulos

๓.๒ ฝ่ายไซปรัส
- วันที่ ๒๕ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๗ พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัส เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
- วันที่ ๑ - ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย
- วันที่ ๑๘ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๓ นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๔ นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเแวะผ่านไทย
- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ นาย Andreas G. Skarparis เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย

- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ นาง Nafsika Chr. Krousti เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย

หน่วยงานของไทยในไซปรัส
เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงโรม
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส

Royal Thai Embassy
Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy
Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382
Fax (3906) 8620-8399
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส
Royal Thai Honorary Consulate
40 Evagoras Ave,
1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus
Tel (357) 2267-4900
Fax (357) 2267-5544
เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.

 

แผนที่

กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul)
Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535
รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540


หน่วยงานของไซปรัสในไทย
สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
The Embassy of the Republic of Cyprus
106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India
Tel. 91-11-4697503, 4697508
Fax 91-11-4628828
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
H.E. Mr. Evagoras Vryonides โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย 


สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus)
The Honorary Consulate of the Republic of Cyprus
75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong
Tel. 0-2661-2319-22
Fax 0-2261-8410

กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)

Mr. Elias Panayides

40 Evagoras Ave., Flat 3, Nicosia 

Tel:   00357- 22 674 900, 676 666 

Fax:  00357- 22 675 544

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี 

ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓
ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ ๒๔๐ ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย ๖๔ ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี ๔๔ ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ ๒๔๐ ไมล์
พื้นที่ ๙,๒๕๑ ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๖ ของพื้นที่ทั้งหมด
เมืองหลวง นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี ๒๕๑๗
ประชากร ๗๘๔,๓๐๑ คน เป็นเชื้อสายไซปรัสกรีกประมาณ ๕ แสนคน และไซปรัสตุรกีประมาณ ๒ แสนคน โดยอาศัยอยู่ในดินแดนสาธารณรัฐไซปรัส ๖๕๕,๐๐๐ คน และอยู่ในดินแดนไซปรัสตอนเหนือ ๑๘๒,๐๐๐ คน
ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม
ภาษาราชการ กรีก ตุรกี
ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ ๗๘ มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ ๑๘ นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย
วันชาติ ๑ ตุลาคม
หน่วยเงินตรา ยูโร โดย ๑ ยูโร = ๔๗.๑๕ บาท (ณ วันที่ ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๓)


ภูมิหลัง
๒๕๐๓ ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
๒๕๑๗ เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจาก
ประเทศตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ ๓๖.๒% ของเกาะไซปรัส
๒๕๒๖ ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรอง
จากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว
๒๕๔๕ สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ
การเมืองการปกครอง

ระบบการเมือง สาธารณรัฐ

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้ารัฐบาล

อำนาจนิติบัญญัติ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฏหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก ๕ ปี โดยแบ่งออกเป็นสภาผู้แทนราษฎร ของไซปรัสกรีก หรือ Vouli Antiprosopan และสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสตุรกี หรือ Cumhuriyet
Meclisi
สภาฯ ของไซปรัสกรีก มีทั้งหมด ๘๐ ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาฯ จาก
ไซปรัสกรีก ๕๖ ที่นั่ง และสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสตุรกี ๒๔ ที่นั่ง (ในขณะนี้
มีเพียงตัวแทนจากไซปรัสกรีกในสภา ขณะที่ที่นั่งของฝ่ายไซปรัสตุรกีได้ว่าง
เว้นไว้ เนื่องจากไซปรัสตุรกีไม่ให้การรับรอง จึงไม่มีการจัดส่งสมาชิกมา
เข้าร่วมประชุม แต่ได้มีการจัดตั้งสภาฯ ขึ้นเป็นของตนเอง)

สภาฯ ของไซปรัสตุรกี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคฝ่ายค้านของนาย Mehmet Ali Talat ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าพรรครัฐบาลของประธานาธิบดี Denktash แต่ต่อมาได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเท่ากันพรรคละ ๒๕ ที่นั่ง และนาย Talat ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีนาย Turgay Avcı เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ


อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (Chief of State and Chief of Government) ไซปรัสมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในวาระคราวละ ๕ ปี
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
นาย Dimitris Christofias ชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โดยเป็นประธานาธิบดีคนที่ ๑๐ นับตั้งแต่ไซปรัสได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี ๒๕๐๓ ตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าจะต้องเป็นตัวแทนจากไซปรัสตุรกีได้ว่างเว้น ไว้
ในส่วนของไซปรัสตุรกี มี นาย Mehmet Ali Talat เป็นประธานาธิบดี และ ดร. Derviş Eroğlu เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลของสาธารณรัฐไซปรัสที่ถูกต้อง คือรัฐบาลไซปรัสกรีก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นาย Markos Kyprianou
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและกิจการ
(Minister of Communications and Works)
นางสาว Maria Malaktou-Pampallis
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
Mr. Christos Patsalides
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
Mr. Costas Kadis
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐

พรรคการเมือง
ไซปรัสกรีก ได้แก่
พรรค Democratic Party (DIKO)
พรรค Democratic Rally (DISY)
พรรค Fighting Democratic Movement (ADIK)
พรรค Green Party of Cyprus
พรรค New Horizons
พรรค Restorative Party of the Working People (AKEL)
พรรค Social Democrats Movement (KISOS)
พรรค United Democrats Movement (EDE)

ไซปรัสตุรกี ได้แก่
พรรค Communal Liberation Party (TKP)
พรรค Democratic Party (DP)
พรรค National Birth Party (UDP)
พรรค National Unity Party (UBP)
พรรค Our Party (BP)
พรรค Patriotic Unity Movement (YBH)
พรรค Republican Turkish Party (TP)


แผนสันติภาพไซปรัสของสหประชาชาติ
- นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ดำเนินความพยายามอย่างหนักใน
การผลักดันให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ ในช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ โดยได้จัดให้มีการพบปะระหว่างผู้นำชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและเชื้อสายตุรกี เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖ ณ กรุงเฮก แต่การเจรจาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
- ความพยายามครั้งล่าสุดของนาย Kofi Annan มีขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
โดยแบ่งการเจรจาออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ การเจรจาระหว่างผู้นำไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ที่กรุงนิโคเซีย เมืองหลวงของไซปรัสระหว่างวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ กรีซและตุรกีจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาจนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ และเลขาธิการสหประชาชาติจะเข้ามาแก้ไขประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ต่อ ไป ก่อนจะมีการลงประชามติแยกสำหรับชาวไซปรัสกรีกและชาวไซปรัสตุรกีในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗
- ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรด้วยการผลักดันของ
นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการ ของสหประชาชาติในไซปรัสและการห้ามขายอาวุธให้แก่ไซปรัส แต่รัสเซียได้ใช้สิทธิยับยั้งร่างข้อมติดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรจะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากที่ได้รับทราบผลการ ลงประชามติอย่างอิสระโดยมิได้ถูกแทรกแซง หรือกดดันจากภายนอกของชาวไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีต่อแผนสันติภาพไซปรัสตาม ข้อเสนอของสหประชาชาติ (Reunification Plan) ในวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗
- เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสาย
ตุรกี ได้มีการลงประชามติว่าจะยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสห ประชาชาติหรือไม่ ผลปรากฏว่าชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ ๗๕.๘ และชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ เป็นผลให้แผนสันติภาพฯ ล้มเหลว เกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนเช่นเดิมและมีเพียงไซปรัสกรีกเท่านั้น ที่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ โดยไม่ครอบคลุมถึงไซปรัสตุรกี

การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ไซปรัสได้ลงนามความตกลงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน
๒๕๔๖ ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในช่วงที่ประเทศกรีซดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป และไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑พฤษภาคม ๒๕๔๗ โดยรัฐบาลไซปรัสได้เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกระหว่างไซปรัสกรีกและ ไซปรัสตุรกี และรัฐบาลไซปรัสจะทบทวนนโยบายและกำหนดมาตรการต่อชาวไซปรัสตุรกีให้ได้รับ สิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของไซปรัส อาทิ มาตรการด้านการเคลื่อนย้ายสัญจร โอกาสในการรับจ้างงาน โอกาสด้านมนุษยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น

เศรษฐกิจการค้า

ดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ปี ๒๕๕๒)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ๒๒.๘๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้เฉลี่ยต่อหัว ๒๑,๒๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ -๐.๘

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ๐.๓

สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออก อังกฤษ ๒๔.๔% ฝรั่งเศส (๑๑%) เยอรมนี (๗.๒%) กรีซ (๖.๔%)

สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโครเลียม เครื่องจักร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการนำเข้า รัสเซีย (๓๖.๓%) กรีซ (๖.๕%) อังกฤษ (๕.๓%) เยอรมนี (๕.๒%) อิตาลี (๕.๑%) ฝรั่งเศส (๔.๘%)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน

อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไซปรัส
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Dimitris Christofias เข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฏหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาทั้งหมด ๕๙ คน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนจากฝ่ายไซปรัสกรีกจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation) ๕๖ คน และตัวแทนจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายมาโรไนต์ ๑ คน นิกายโรมันคาทอลิก ๑ คน และตัวแทนชนชาติอาร์เมเนียน ๑ คน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Dimitris Christofias เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ประธานาธิบดีไซปรัสมีวาระ ๕ ปี มีสถานะเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีร่วมกับรองประธานาธิบดี ซึ่งรองประธานาธิบดีจะต้องมาจากฝ่ายไซปรัสตุรกีตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะนี้ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม ระหว่างพรรค Progressive Party of Working People ซึ่งมี ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ๑๘ ที่นั่ง พรรค Democratic Rally (๑๘ ที่นั่ง) พรรค Democratic Party (๑๑ ที่นั่ง) พรรค Movement for Social Democracy (EDEK) (๕ ที่นั่ง) พรรค European Party (๓ ที่นั่ง) และพรรค Ecological and Environmental Movement (๑ ที่นั่ง)
๑.๓ สาธารณรัฐไซปรัส ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ๒๕๐๓ แต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวไซปรัสกรีกและชาวไซปรัสตุรกี สหประชาชาติได้ส่งกำลังทหารรักษาสันติภาพไปยังไซปรัสในปี ๒๕๐๗ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๑๗ หลังจากฝ่ายกรีกได้ทำรัฐประหารรัฐบาลไซปรัส ตุรกีได้ถือโอกาสดังกล่าวเข้ายึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัส ทำให้ชาวไซปรัสกรีกที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และมีการตั้งระบอบการปกครองตนเองในดินแดนที่ตุรกียึดครอง โดยเรียกตนเองว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus หรือ TRNC) โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสตุรกี และระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงตุรกีให้การรับรองเพียงประเทศเดียว
๑.๔ ขณะนี้เกาะไซปรัสถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑.) สาธารณรัฐไซปรัส ๒.) Turkish Republic of Northern Cyprus ๓.) Green Line เส้นแบ่งแยกดินแดนที่สหประชาชาติดูแลอยู่ และ ๔.) ฐานทัพ ๒ แห่งซึ่งยังอยู่ในความดูแลของสหราชอาณาจักร โดยเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สาธารณรัฐไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้รวมดินแดนตอนเหนือที่ตุรกียึดครองอยู่ในขณะนี้
๑.๕ สหประชาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาเกาะไซปรัสโดยยึดหลักพื้นฐานของแผนสันติภาพ เพื่อการรวมไซปรัส (Annan Plan) คือ การมีไซปรัสที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (United Cyprus) บริหารโดยรัฐบาลเดียว (Federal Government) และแบ่งเป็น ๒ รัฐ คือ Greek Cyprus State และ Turkish Cyprus State โดยทั้งสองรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน และมีอำนาจบริหารภายใต้อาณาเขตของตนเอง
๑.๖ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ได้มีการลงประชามติของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี เกี่ยวกับการยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือ ไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ ในขณะที่ชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๗๕.๘ อันเป็นผลให้แผนสันติภาพดังกล่าวล้มเหลว และเกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกเป็น ๒ ส่วนเช่นเดิม
๑.๗ นอกจากนี้ กรีซยังได้เสนอแผนการรวมเกาะไซปรัสโดยใช้กรอบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป ซึ่งได้แก่ การยินยอมให้ฝ่ายไซปรัสกรีกสามารถใช้ท่าเรือและท่าอากาศยานของฝ่ายไซปรัส ตุรกี การให้ผู้ลี้ภัยชาวไซปรัสกรีกกลับไปมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่ถูก ยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ การที่ตุรกีจะต้องรับรองสาธารณรัฐไซปรัส และการถอนทหารตุรกี

๒. เศรษฐกิจและสังคม
๒.๑ ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีโดยมีภาคบริการเป็นหลักและอุตสาหกรรมเบารอง ลงมา ชาวไซปรัสเป็นผู้ที่นับว่ามีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรไซปรัสมีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี และมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก มีระบบสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย
๒.๒ ระบบเศรษฐกิจของไซปรัสถูกกำหนดโดยการแบ่งแยกดินแดนเหนือ-ใต้ โดยเศรษฐกิจในส่วนของสาธารณรัฐไซปรัสมีความเจริญรุ่งเรืองและหลากหลาย เป็นฐานการลงทุนของแหล่งธุรกิจ Offshore เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความก้าวหน้า
๒.๓ เศรษฐกิจของไซปรัสเหนือที่ถูกตุรกียึดครองเน้นด้านบริการเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงภาครัฐ การค้า การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยมีภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบา อย่างไรก็ตาม ดินแดนส่วนนี้มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการ รับรองและไม่มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลก ยกเว้นตุรกีเพียงประเทศเดียว โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไซปรัสตุรกีในการดำเนินโครงการต่างๆ
๒.๔ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐไซปรัสมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมากในฐานะสมาชิก สหภาพยุโรป และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคใน ที่สุด นอกจากนี้ไซปรัสยังได้รับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปเพิ่มอีกด้วย
๒.๕ ไซปรัสมีเรือจดทะเบียนมากเป็นลำดับ ๔ ของโลก ถึง ๒,๗๕๘ ลำ คิดเป็นจำนวน ๒๕.๕ ล้าน Gross Registered Tons (GRTs)
๒.๗ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการค้นพบน้ำมันในบริเวณทางทะเลตอนใต้ของเกาะไซปรัส ระหว่างไซปรัส และอียิปต์ และไซปรัสกำลังเจรจากับอียิปต์ในเรื่องการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้


๓.นโยบายต่างประเทศ
นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญของไซปรัสนับตั้งแต่ตุรกีส่งกำลังทหารเข้ายึด ครองดินแดนส่วนเหนือของไซปรัสได้แก่ การขอความสนับสนุนจากประชาคมโลกในการประณามพฤติกรรมดังกล่าวของตุรกีและการ ไม่รับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus – TRNC) ซึ่งตุรกีจัดตั้งขึ้น รวมทั้งการสร้างแรงกดดันจากประชาคมโลกให้ตุรกีถอนทหารออกจากไซปรัสตอนเหนือ ซึ่งที่ผ่านมาไซปรัสได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติเรียกร้องให้ตุรกีถอนทหาร ออกจากดินแดนดังกล่าวและไม่มีประเทศใดนอกจากตุรกีให้การรับรอง TRNC นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการรุกรานของตุรกีและความใกล้ชิดกับประเทศกรีซทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม นโยบายการต่างประเทศของไซปรัสจึงมีความใกล้ชิดกับประเทศกรีซมากเป็นพิเศษ

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป
๑.๑ การทูต
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสมีความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย และสำหรับท่าทีของไทยต่อปัญหาไซปรัส คือ ไทยไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ หรือ Turkish Republic or Northern Cyprus (TRNC) โดยตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC ทั้งนี้ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส ซึ่งไม่รับรองดินแดนส่วนเหนือที่ตุรกีส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ และไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจา แก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มและประเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ในปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม คือ นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ และเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาย Nafsika Chr. Krousti โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิการยน ๒๕๕๓
๑.๒ การเมือง
ไทยกับสาธารณรัฐไซปรัสมีความสัมพันธ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย ภายหลังเหตุการณ์ปฏิรูปการปกครองในไทยเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ กระทรวงการต่างประเทศไซปรัสมิได้มีประกาศเตือน หรือมีท่าทีที่คัดค้านไทยในเวทีระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะ นอกจากร่วมกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประณามเหตุการณ์ดังกล่าวของไทย อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนไซปรัสมิได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากนัก


๑.๓ เศรษฐกิจ
๑.๓.๑ การค้า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการค้าของไซปรัสผูกติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา ปริมาณการค้ารวมไทยระหว่างไทยกับไซปรัสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ไซปรัสเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมั่นคง ไทยจึงได้จัดให้ไซปรัสเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ฝ่ายไทยจะดำเนินการ ผลักดันเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออก

มูลค่าการค้าไทย-ไซปรัส ๔๔.๘๙ ล้าน USD ไทยส่งออก ๔๒.๙๘ ล้าน USD ไทยนำเข้า ๑.๙๑ ล้าน USD ได้ดุล ๔๑.๐๗ ล้าน USD

สินค้าส่งออกของไทย รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วยประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ปลาหมึกสดแช่เย็น/แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องดื่ม ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าจากไซปรัส ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ ผักผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง

การลงทุน มีเพียงโครงการเดียว มูลค่า ๑๐ ล้านบาท (ปี ๒๕๔๙)
การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไซปรัสมาไทย ๒,๒๘๕ คน (ม.ค.-ก.ย. ๒๐๐๙)

คนไทยในไซปรัส มีคนไทยอาศัยอยู่ในไซปรัสประมาณ ๓๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส

๑.๓.๔ การบิน
แม้ไทยกับไซปรัสมีความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเส้นทางการบินโดยตรงระหว่างกัน
๑.๔ สังคมและวัฒนธรรม
ในด้านสังคม สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีคนไทยอยู่ในไซปรัสประมาณ ๓๐๐ คน โดยในจำนวนนี้ มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ ๑๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส ส่วนในด้านวัฒนธรรมนั้น ขณะนี้ไทยและไซปรัสยังไม่มีโครงการการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน
๑.๕ แนวโน้มความสัมพันธ์
หากไซปรัสสามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ในอนาคตแล้ว ก็น่าจะทำให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับไซปรัสจะกระชับและขยาย ไปในด้านอื่นๆ มากขึ้น

๒. ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
ความตกลงที่ได้มีการลงนามแล้ว
๒.๑ ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗)
๒.๒ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓)
ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำ
๒.๓ ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเล
๒.๔ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
๒.๕ ข้อตกลงว่าด้วยการหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ

๓. การเยือนที่สำคัญ
๓.๑ ฝ่ายไทย
- วันที่ ๒๕ – ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม เยือนไซปรัสเพื่อยื่นพระราชสาส์นต่อประธานาธิบดี Tassos Papadopoulos

๓.๒ ฝ่ายไซปรัส
- วันที่ ๒๕ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๗ พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัส เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
- วันที่ ๑ - ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย
- วันที่ ๑๘ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๓ นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๔ นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเแวะผ่านไทย
- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ นาย Andreas G. Skarparis เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย


หน่วยงานของไทยในไซปรัส
เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงโรม
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นายสุรพิทย์ กีรติบุตร
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส

Royal Thai Embassy
Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy
Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382
Fax (3906) 8620-8399
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส
Royal Thai Consulate
40 Evagoras Ave,
1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus
Tel (357) 2267-4900
Fax (357) 2267-5544
เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.
นายสุรพิทย์ กีรติบุตร
กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul)
Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535
รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540


หน่วยงานของไซปรัสในไทย
สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
The Embassy of the Republic of Cyprus
106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India
Tel. 91-11-4697503, 4697508
Fax 91-11-4628828
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นางนาฟสิก้า ครูสติ (Nafsika Chr. Krousti) โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓


สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus)
The Consulate of the Republic of Cyprus
75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong
Tel. 0-2661-2319-22
Fax 0-2261-8410

กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
อยู่ระหว่างรอฝ่ายไซปรัสเเต่งตั้ง

สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี

๒๒ พ.ย. ๒๕๕๓

สถานะ 20 พฤศจิกายน 2566

web-booking-01 mod

ควิกลิ้งค์

visa application th
official holidays th
hotline
form
faq
faq
immigration th

Follow us on:

fb icon tweeter

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มอีก 1 ช่องทาง คือ Twitter ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสถานทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศ ขอเชิญ follow ได้ที่ Twitter Thailand in Italy หรือตามลิงค์นี้ https://twitter.com/RTERome

Follow us on Twitter Thailand in Italy the official account of the Royal Thai Embassy in Rome at https://twitter.com/RTERome.

thai community

thai select


negozi thai food

Who's Online

มี 7 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์